บทบาทของไทยบนเวที COP สู่การสร้างทักษะสีเขียวเพื่อเปลี่ยนโลก

 
  • จากเป้าหมายของการประชุม COP ทำให้ต้องเกิดการปฎิรูปด้านธุรกิจ ปฏิรูปการศึกษา เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลก

 

  • ในอนาคตทักษะด้านสิ่งแวดล้อมจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจะมีบริษัททั่วโลกที่ต้องการทักษะสีเขียวเพิ่มขึ้นประมาณ 400,000 คนภายในปี 2593
 

     เมื่อทั่วโลกเริ่มตื่นตัวกับสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้ น้ำท่วมหนัก ไซบีเรียที่หนาวจนติดลบถึง 58 องศา อินเดียเจอพายุหนักจนทำให้น้ำท่วมฉับพลัน ภูเขาไฟในอินโดนีเซียประทุอีกครั้ง หรือแม้แต่ไทยที่สภาพอากาศแปรปรวนบ่อยครั้ง อากาศร้อนจนจะขาดใจที่ใครต่างก็รู้สึกได้ 

 

     COP หรือ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) คือการตื่นตัวจากภาวะโลกรวนทั่วโลกที่ทุกคนต่างต้องร่วมประชุมในการร่วมกันหาทางออกให้โลกใบนี้ ไทยเองก็ได้มีบทบาทบนเวทีโลกไม่ต่างกันในการประกาศแนวทางและจุดยืนบนเวทีดังกล่าว แล้วการศึกษาจะต้องปฎิวัติเพื่อช่วยโลกนี้ได้อย่างไร

 

     จากเป้าหมายของการประชุม COP ทำให้ต้องเกิดการปฏิรูปด้านธุรกิจ ปฏิรูปการศึกษา เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลก เพื่อขับเคลื่อนการช่วยโลกนี้ต่อไป จนเกิดเป็นความต้องการทักษะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือเรียกอีกอย่างว่า ทักษะสีเขียว หรือคือทักษะที่ว่าด้วยความรู้ ความสามารถ ค่านิยม และทัศนคติ เพื่อสนับสนุนการใช้ทรัพยากรและสร้างเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งคาดว่าทักษะสีเขียวนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการประมาณการว่า  อาจจะมีบริษัทที่ต้องการรับสมัครคนที่มีทักษะด้านสิ่งแวดล้อมประมาณ 400,000 คนภายในปี 2593 

 

 

ทักษะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทักษะสีเขียวในอนาคตมีดังต่อไปนี้

ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ : เศรษฐกิจสีเขียวต้องพึ่งพาคนงานที่มีพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นักชีววิทยา นักอุทกวิทยา และนักชีวเคมี เพื่อช่วยติดตามและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงที่ดินและแหล่งน้ำ

 

ทักษะด้านสถาปัตยกรรมและการวางแผน : อาคารจะต้องมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากขึ้น และใข้ทรัพยากรในการก่อสร้างน้อยลง สถาปนิกต้องมีการวางแผนในการก่อสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม

 

ทักษะด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม:วิศวกรและเทคโนโลยีที่จะเป็นต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตจะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นแผงโซลาร์เซลล์ กังหันลม ยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษต่ำ 

 

ทักษะความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม: โดยต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้านสิ่งแวดล้อม โดยเป็นผู้ที่ตระหนักรู้ทางกฎหมาย สังคม ประวัติศาสตร์ เพื่อใช้สิ่งแวดล้อมโดยไม่ผิดซ้ำรอยในอดีต เพื่อนำไปสู่สังคมเเละสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

 

ทักษะด้านระบบ : เศรษฐกิจสีเขียวต้องมีพนักงานที่ออกแบบ ตรวจสอบการใช้งานระบบเพื่อเปรียบเทียบและปรับปรุงการทำงานของระบบ เช่น ทักษะเศรษฐศาสตร์มหภาคเพื่อความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว


เด็กในวันนี้ที่ต้องรับมือกับสภาพอากาศที่พวกเขาต้องเจอในอีก 20-30 ปีข้างหน้าโรงเรียนเองก็จำเป็นต้องมีส่วนช่วยผลักดันพัฒนาทักษะสีเขียวที่จำเป็นต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน เพื่อเตรียมเยาวชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโลกของเรา


อ้างอิง

https://tech4dev.medium.com/green-skills-for-youth-towards-a-sustainable-world-2a61c008792e
https://www.weforum.org/agenda/2021/08/these-are-the-skills-young-people-will-need-for-the-green-jobs-of-the-future/?fbclid=IwAR12n8z5Xhsxeuyk6EZYyFqkUy4h0XkhAvnN1GXyNBDh4KZcRECC3BrMvmI

 
 
 
แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง