เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงของโลกการศึกษาจากวิกฤติ โควิด-19 แล้วอนาคตทางการศึกษา จะเป็นอย่างไรต่อไป?

 

เปิดประตูการศึกษา เรียนรู้-สู้วิกฤติ (โควิด-19)

ความเปลี่ยนแปลง สู่โลกอนาคต

 

 

จากวิกฤติ โควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา ทว่าเราจะตั้งรับได้อย่างไร แนวโน้มของการศึกษาไทยในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง กับความท้าทายของโลก (การศึกษา) ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จากผลกระทบจาการระบาดครั้งใหญ่นี้ และส่งผลกระทบการศึกษาในระยะยาวอย่างไร  เรารวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากหลาย ๆ แหล่งไว้ในบทความนี้

 

 

ครู-นักเรียน ปรับตัวสู่โหมด “ออนไลน์”

 

 

ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในอาจารย์มหาวิทยาลัยกลุ่มแรก ๆ ที่เปลี่ยนมาใช้วิธีการสอนนักศึกษาออนไลน์ตั้งแต่ก่อนที่รัฐบาลจะออกประกาศปิดสถานศึกษา อ.อรรถพล กล่าวว่า ไม่ใช่ทุกวิชาหรือทุกคณะจะเปลี่ยนมาสอนออนไลน์ได้ทั้งหมด เพราะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และประสิทธิภาพของการสอนที่สำคัญที่สุดคือห้องเรียนออนไลน์ยังทดแทน "ห้องเรียนออฟไลน์" หรือห้องเรียนจริง ๆ ไม่ได้ คือ "ปฏิสัมพันธ์”

 

 

วิกฤติ คือ โอกาส

 

 

การเรียนออนไลน์นั้น มีข้อจำกัดเรื่องความพร้อมส่วนบุคคลมากมาย โดยเฉพาะในโรงเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดที่คุณครูก็ยังไม่มีความคุ้นชินกับโปรแกรมต่าง ๆ นักเรียนก็ไม่มีอุปกรณ์ รวมถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ดีนัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนอย่างจริงจังว่าจะสนับสนุนคุณครูนับแสนคนอย่างไร ต้องประเมินความพร้อมอย่างรอบด้าน  เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา ก็คือการพัฒนาผู้เรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียง การมีปฏิสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าการเรียนออนไลน์จะมีข้อจำกัดและอุปสรรคบ้าง แต่ อ.อรรถพลบอกว่า “วิกฤติในครั้งนี้ทำให้สถาบันการศึกษา ทั้งผู้เรียนผู้สอนได้ปรับตัวให้ชินกับการเรียนออนไลน์ หลายวิชาเริ่มเห็นทิศทางความเป็นไปได้ในการเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยพยายามสนับสนุนมาโดยตลอด และนี่อาจเป็นโอกาสในการต่อยอดการศึกษาในอนาคต”


(ข้อมูลอ้างอิงจาก BBC Thai : เมื่อการเรียนการสอนต้องดำเนินต่อไป https://www.bbc.com/thai/thailand-51975231)

 

 

คาดการณ์ การศึกษาในอนาคต

 

 

1. การเรียนออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีที่เป็นจริงได้ในวันนี้ ก็เพราะเทคโนโลยีที่ถึงพร้อมโดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีทำให้การศึกษา เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ที่ไม่เคยคาดคิด

 

2. เกิดการร่วมมือกัน ระหว่าง ภาครัฐและเอกชน พัฒนาช่องทางการเรียนรู้แบบใหม่ สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาในช่วงเวลาวิกฤติแบบนี้ เช่น กระทรวงศึกษาธิการของจีนจัดตั้ง รวบรวมหน่วยงานหลายองค์กรมาร่วมกันทำแพลตฟอร์มการเรียนทั้งแบบออนไลน์และถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์ รวมทั้งพัฒนาระบบพื้นฐานที่เอื้อกับการเรียนรู้อื่น ๆ เสริมเข้าไปด้วย

 

3. ความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียม อาจกว้างขึ้น การเรียนออนไลน์เป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาอย่างเร็ว และทำได้จริงมากที่สุด แต่การทำเช่นนี้ได้ ประเทศนั้นต้องมีโครงการการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตที่ดีและราคาถูก ทุกคนเข้าถึงได้ แต่ต้องยอมรับว่าในประเทศที่ยังไม่พัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังไม่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตอบรับเทคโนโลยีเหล่านี้ การเข้ามาของการเรียนออนไลน์ ยิ่งทำให้เด็กยากจนและผู้ที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ถูกละทิ้งและมองข้ามไป 

 

ทั้งนี้การคาดการณ์ต่าง ๆ เพียงเพื่อให้อุดรอยรั่ว กับการเปลี่ยนแปลงการศึกษา การศึกษาจะคงอยู่ได้และมีประสิทธิภาพ ก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัว ทักษะ รวมถึงการคิดค้นพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ โควิด-19 อาจจะไม่โหดร้ายต่อการศึกษาเสมอไป  แต่เป็นการเตือนให้ เราเกิดการตั้งรับ ตื่นตัว สร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี ยืดหยุ่นกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือโรคระบาดที่จะเกิดขึ้น ให้เกิดการสมดุล  ในอนาคตสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปเราได้แต่คาดการณ์ แต่การเรียนรู้ผ่านออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป ไม่ว่าการศึกษาจะเป็นรูปแบบใด สิ่งที่เราทุกคน และทุกประเทศ หนีไม่พ้นเลยก็คือ “การเปลี่ยนแปลง” เราทุกคนต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ กล้าที่จะเริ่มต้น และยอมรับในการเปลี่ยนแปลง

 

( ขอบคุณข้อมูล The potential บทความโรงเรียนอาจไม่เหมือนเดิม https://thepotential.org/2020/03/27/coronavirus-pandemic-could-reshape-education/ )

 

 

การเปลี่ยนแปลง และความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุด

 

บทความจากสภาเศรษฐกิจโลก

ที่ผ่านมา นักการศึกษาทั่วโลกได้พูดถึงการสะท้อนวิกฤติครั้งนี้ ว่าจะเปลี่ยนแปลงเรื่องการศึกษาใหม่สำหรับเด็กในอนาคต เราควรสอนอะไร และเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับสถานการณ์แบบไหน  จากสถานการณ์ โรคระบาด “โคโรน่าไวรัส (โควิด-19)” ที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ทำให้นักเรียนต้องปรับไปเรียนที่บ้าน ระบบการศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัวและคิดนวัตกรรม เปลี่ยนการศึกษาจาก “ออฟไลน์” มาเป็น “ออนไลน์” อย่างเต็มรูปแบบ  เด็กได้เรียนรู้พลังแห่งความร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของโลก สภาเศรษฐกิจโลกวิเคราะห์ว่า นี่เป็น 4 บทเรียนที่เราต้องเตรียมรุ่นต่อไป


1. สอนให้รุ่นต่อไปอยู่ในโลกที่เชื่อมต่อกัน

การระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด 19) เปลี่ยนแปลงโลก ทำให้เห็นภาพว่าโลกเราเชื่อมต่อกันขนาดไหน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า พฤติกรรม “โดดเดี่ยว” อีกต่อไปแล้ว คนที่ประสบความสำเร็จในทศวรรษต่อไป ต้องเป็นคนที่เข้าใจความสัมพันธ์กันของโลก และสามารถหาเส้นทางข้ามขีดจำกัด ใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ และทำงานด้วยวิธีที่ใช้ความร่วมมือจากโลกที่เชื่อมต่อกัน

 

2. คำจัดกัดความใหม่ของ “นักการศึกษา”

ความคิดที่ว่า นักการศึกษาเป็นผู้กำความรู้ที่จะสร้างสติปัญญาของนักเรียน ไม่ใช่ความคิดที่ตรงกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป เมื่อนักเรียนสามารถเสาะหาความรู้ หรือทักษะได้ทางออนไลน์ หรือทางโทรศัพท์ เราต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของนักการศึกษาในห้องเรียนและห้องบรรยาย นี่อาจหมายถึงบทบาทของนักการศึกษาต้องเดินหน้าเขาสู่การเป็นแรงสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่พัฒนาตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งที่มีคุณค่าต่อสังคม

 

3. สอนทักษะชีวิตที่จำเป็นในอนาคต

ในสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่ต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะหาเส้นทางฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ มองไปในอนาคต หนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดที่นายจ้างจะมองหา คือความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ควบคู่ไปกับความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คนที่จะสามารถทำงานร่วมกับคนที่แตกต่าง

 

4. ปลดล็อกเทคโนโลยีที่จะช่วยส่งเสริมการศึกษา

การระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนแปลงโลก ส่งผลให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัวใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อการเรียนทางไกลให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น นักการศึกษาทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะได้ทำอะไรที่แตกต่าง และแตกต่างด้วยความยืดหยุ่น ที่จะเกิดประโยชน์ในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทั่วโลก (ขอบคุณข้อมูล บทความจากสภาเศรษฐกิจโลก

 

ที่มา www.springnews https://www.springnews.co.th/alive/edutainment-alive/639508)

 

 

การศึกษาในอนาคตควรเป็นอย่างไร
 

 

Private to Personalized

การเรียนแบบส่วนตัวหรือเรียนร่วมกับคนหมู่มากทำได้ แต่เป็นแค่การผลิต Follower ไม่ได้ผลิต Leader ดังนั้นควรเรียนแบบเฉพาะตัว

 

Extensive to Intensive

นักเรียนชั้นมัธยมปลายของประเทศไทยเรียนเยอะมาก ทำให้เสียโอกาส ไม่มีประเทศไหนเรียนมากเท่าประเทศไทย เราไม่ต้องรู้เยอะมาก แต่ต้องรู้ลึกในแต่ละเรื่อง และเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวิต

 

Complex to Simple

คนเก่งที่สุดคือคนที่ทำเรื่องง่ายให้ง่ายขึ้น และทำเรื่องยากให้ง่าย

 

“ไม่ต้องมีครูก็ได้ ในยุค Disruption”  นับว่าเป็นประโยคที่ท้าทายการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยหมอธี ให้แง่คิดที่น่าสนใจว่า  “โลกมันเปลี่ยนไปเร็วกว่าที่คิดเยอะ ให้ดูประวัติศาสตร์เมื่อร้อยปี ตอนที่เอดิสันเห็นทีวีครั้งแรก เขาบอกว่า อีก 10 ปี ข้างหน้าจะไม่มีโรงเรียน ทุกคนจะเรียนจากทีวีหมด แต่พระพุทธเจ้าสอนว่า อย่าเชื่อเพราะเข้าเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือคนเก่ง แต่ต้องลอง และเราจะเจอเรื่องที่ Surprise กันเรื่อยๆ” คำกล่าว ของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในงานเสวนา Education for Future World : The Best Education Money Cannot Buy

 

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท.  อื่นๆ ได้ที่     >>> คลิก <<<

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่    >>> คลิก <<<

 

(ขอบคุณข้อมูล www.trueplookpanya https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/78912)

แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง