วิทยาการคำนวณ เปลี่ยนจากผู้ใช้ ให้เป็นผู้สร้าง นวัตกรรม

วิทยาการคำนวณ  เปลี่ยนจากผู้ใช้ ให้เป็นผู้สร้าง นวัตกรรม

 

เปลี่ยนจากผู้ใช้ ให้เป็นผู้ "สร้าง" นวัตกรรม

สร้างทักษะแห่งโลกอนาคตใหม่ พื้นฐานสำคัญในการสร้างทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมวิทยาการคำนวณ ให้ผู้เรียนสามารถคิด อย่างมีวิจารณญาณ แก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และสามารถสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตนเอง

 

  • การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)
  • ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย (Media and information literacy)

 

 

เด็กไทยวันนี้ได้ก้าวเข้าสู่ยุค

 
Digital age อย่างเต็มตัว
 

วิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จะช่วยสร้างเหตุผลให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีจุดหมาย เด็กๆ จะเข้าใจถึง ที่มาที่ไป และสามารถนำเอาองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้พร้อมกับต่อยอด ไปสู่สิ่งใหม่ๆ จนเกิดเป็นการบูรณาการศาสตร์จากหลากหลายแขนง และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมอันจะนำพาไปสู่การพัฒนาประเทศได้

 
 

การคิดเชิงคำนวณ

 
Computational Thinking

การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) กระบวนการในการแก้ปัญหา ในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้นทีละตอน หรือที่เรียกว่าอัลกอริทึ่ม รวมถึงการย่อยปัญหาที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับมือกับปัญหาที่ซับซ้อน หรือมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดได้ วิธีคิดเชิงคำนวณมีความจำเป็น ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ แต่ในขณะเดียวกัน วิธีคิดนี้ยังช่วยแก้ปัญหาในวิชาต่างๆ ได้ด้วย ดังนั้นเอง เมื่อมีการบูรณาการ วิธีิคิดเชิงคำนวณผ่านหลักสูตรในหลากหลายแขนงวิชา นักเรียนจะเห็น ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละวิชา รวมทั้งสามารถนำวิธีคิดที่เป็นประโยชน์นี้ ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ในระยะยาว

 

Computational Thinking

 
 

ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

 
(Digital Technology)
 

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) หมายถึง ทักษะความเข้าใจและการใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital Literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แท็บเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสาร ปฏิบัติงาน หรือเพื่อพัฒนากระบวนการ ระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัย เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

Digital Technology

 

การใช้ (Use)

เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล
และการประมวลผล

การประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply)

การประยุกต์ใช้ความรู้และเทคโนโลยี
ในการแก้ปัญหา

การสร้างสรรค์ (Create)

ทักษะในการผลิตหรือสร้างผลงาน
ผ่านเทคโนโลยีสื่อสารโดยใช้ความหลากหลาย
ของสื่อดิจิทัล
 

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสารอย่างปลอดภัย
Media and information literacy

การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (media and information literacy) หมายถึง ความสามารถของแต่ละบุคคลในการเข้าถึง เข้าใจ ตีความ ประเมิน และสร้างข้อมูล และสื่อในรูปแบบที่หลากหลายด้วยความตระหนักถึง ผลกระทบของข้อมูลและสื่อต่าง ๆ ดังกล่าว โดยไม่ถูกครอบงำและสามารถ ใช้สื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการ ดำรงชีวิตของทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม

 

Media and information literacy

 

ความตระหนักใน
อิทธิพลของสื่อ

Media Effect Awareness

การคิด
อย่างมีวิจารณญาณ

Critical Thinking

การรู้เท่าทัน
ตนเอง

Self Awareness
 
 
วิชาวิทยาการคำนวณ ไม่ได้สอนเพื่อให้เด็กทุกคนที่เรียนต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ต้องการให้เด็กมีทักษะการคิดที่ถูกใช้ในการทำความเข้าใจ ปัญหาและสามารถสร้างแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบก่อนที่จะมีการนำมาเขียนโปรแกรมหรือโค้ดดิ้ง ซึ่งทักษะนี้หรือที่เราเรียกกันว่า Computational Thinking กำลังจะกลายเป็นทักษะพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกับอนาคตการทำงาน ซึ่งในทุกวันนี้หลายกลุ่มในประเทศชั้นนำทางการศึกษาทั่วโลก เช่น ฟินแลนด์ หรือ เกาหลีใต้ ก็ได้บรรจุวิชานี้ไว้ในหลักสูตรระดับชาติ ซึ่งเราเองคาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันเรื่องนี้สู่การศึกษาไทยต่อไป
แชร์

บทความที่เกี่ยวข้อง